วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชันแบบมีการส่งค่าพารามิเตอร์


พารามิเตอร์ คือ ข้อกำหนดในการรับข้อมูลของฟังก์ชัน โดยข้อมูลนั้นจะถูกนำไปใช้ประมวลผล
ภายในฟังก์ชัน พารามิเตอร์จะทำให้ฟังก์ชันมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน เพราะผลลัพธ์จะแปรเปลี่ยนไป
ตามค่าพารามิเตอร์นั้น วิธีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ มีดังนี้

พารามิเตอร์แบบกำหนดค่าเริ่มต้น (Default Parameter)
ในบางฟังก์ชันอาจใช้ค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจมีการเปลี่ยนไปใช้ค่าอื่น
บ้างในบางครั้ง ดังนั้นเพื่อความสะดวกจึงมีการกำค่าพารามิเตอร์แบบกำหนดค่าเริ่มต้นขึ้น โดยจะ
กำหนดค่าพารามิเตอร์ที่ต้องใช้บ่อยๆ ไว้ล่วงหน้า หรือป้องกันปัญหาในกรณีที่ไม่ได้กำหนดค่าพารามิเตอร์
ให้กับฟังก์ชัน เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชันหากไม่มีการส่งค่าพารามิเตอร์มาให้ฟังก์ชัน ฟังก์ชันจะเรียกใช้ค่า
เริ่มต้นที่กำหนดไว้ให้แทน รูปแบบการกำหนดพารามิเตอร์แบบกำหนดค่าเริ่มต้น มีรายละเอียด ดังนี้

รูปแบบ
<?phpfunction ชื่อฟังก์ชัน (ชื่อพารามิเตอร์ = ค่าเริ่มต้น) { ค าสั่ง;}?>ตัวอย่างที่6.6 ฟังก์ชันปิรามิดตัวเลข
<?phpfunction pyramidNumber ($number=7) {for ($loop1=$number; $loop1>=1; $loop1--) {

 for($loop2=1; $loop2<=$loop1; $loop2++) { printf (" %d ",$loop2); } echo "</ br>";}}?>



ที่มา : http://computer.todaygoods.com/php/

การเรียกใช้ฟังก์ชันที่สร้างเอง

      สามารถทำได้เช่นเดียวกับการใช้ฟังก์ชันมาตรฐานของ PHP คือ ต้องระบุชื่อฟังก์ชันที่ต้องการใช้งานโดยระบุข้อมูลที่จะส่งให้กับฟังก์ชัน (ถ้ามี)
 ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 6.4 การสร้างฟังก์ชัน
<?phpfunction generateFooter ($msg){printf ("<p><font color=red> %s <font></p>",$msg);}?>

ตัวอย่างที่ 6.5 การเรียกใช้ฟังก์ชันที่สร้างเอง
<?phpgenerateFooter ("Copyright 2012 Mr.Parinya Noidonprai");?>



ที่มา : http://computer.todaygoods.com/php/




หมายเหตุ


การตั้งชื่อฟังก์ชัน มีหลักเกณฑ์คล้ายกับการตั้งชื่อตัวแปร ดังนี้
- ต้องขึ้นต้นชื่อด้วย a-z หรือ _ เท่านั้น
- ต้องประกอบด้วย a-z, 0-9 หรือ _ เท่านั้น
- ต้องไม่ซ้ำกับชื่อฟังก์ชันที่มีอยู่แล้วหรือฟังก์ชันมาตรฐานของ PHP
พารามิเตอร์ คือ ตัวแปรหรือข้อมูลที่ต้องการรับจากภายนอกฟังก์ชันเข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชัน จะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจำเป็นต้องใช้หรือไม่


ที่มา : http://computer.todaygoods.com/php/

การสร้างฟังก์ชัน


          ลักษณะของงานที่จะนำามาสร้างเป็นฟังก์ชันนั้น ควรเป็นงานหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มักจะต้องทำช้าๆ และบ่อยครั้ง เพื่อให้ไม่ต้องเขียนคำสั่งหรือชุดคำสั่งนั้นๆ ทุกครั้งที่ต้องการทำงานแบบเดิม ซึ่งสามารถแยกคำสั่งบางส่วนออกมาสร้างเป็นฟังก์ชันไว้ต่างหากและนำมาทำเป็นฟังก์ชัน และเรียกใช้ตามลักษณะงานที่ต้องการ จะช่วยให้โค้ดคำสั่งของมีขนาดเล็กลง ช่วยลดการใช้ทรัพยากร และง่ายในการปรับปรุงแก้ไขในอนาคต เพราะสามารถแก้ไขเพียงครั้งเดียวก็จะมีผลทุกจุดที่เรียกใช้ฟังก์ชัน


ที่มา : http://computer.todaygoods.com/php/



การเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานของ PHP



         ในการเรียกใช้งานฟังก์ชันจะต้องตรวจสอบก่อนว่าฟังก์ชันนั้นๆ เป็นฟังก์ชันเพื่อทำหน้าที่อะไร มี
การรับส่งค่าตัวแปรระหว่างฟังก์ชันหรือไม่ ถ้าไม่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน ก็สามารถเรียกใช้งานได้
เลย แต่ถ้ามีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน ก็จะต้องมีการระบุค่าพารามิเตอร์ ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ฟังก์ชันกำหนด

ตัวอย่างที่ 6.1 รูปแบบฟังก์ชันที่ไม่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
function_name ( );

ตัวอย่างที่ 6.2 รูปแบบฟังก์ชันที่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
function_name ($value1, $value2);

ตัวอย่างที่ 6.3 การเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐาน
<?php$today = date("d/m/Y"); // เรียกใช้งานฟังก์ชัน date(); พร้อมระบุค่าอากิวเมนต์echo $today; // แสดงผลลัพธ์ เป็นวันที่ปัจจุบัน เช่น 6/7/2012 เป็นต้น?>


ที่มา : http://computer.todaygoods.com/php/


ฟังก์ชันมาตรฐาน (Built-in Functions)

          ฟังก์ชันมาตรฐาน คือ ฟังก์ชันที่มาพร้อมกับ PHP สามารถเรียกใช้งานได้ทันทีฟังก์ชันมาตรฐานมีหลายกลุ่มการทำงาน สามารถจำแนกตามหน้าที่ ดังนี้
  •  ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับวันที่และเวลา
  • ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการค านวณทางคณิตศาสตร์
  • ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการติดต่อกับฐานข้อมูล
  • ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการจัดการกับกับสตริงหรือข้อความ
  • ฟังก์ชันที่ผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเอง (User Defined Functions)
  • ฟังก์ชันที่ผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเอง คือ กลุ่มของค าสั่งที่ผู้ใช้เป็นผู้เขียนหรือพัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อ
  • ทำงานหรือทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการ

จากที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น สรุปได้ว่า หลักๆ แล้วฟังก์ชันมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ทั้ง 2 ประเภท
ก็จะมีฟังก์ชันที่ประกอบไปด้วย ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน และฟังก์ชันที่มีการส่งค่าระหว่าง
ฟังก์ชัน ค่าที่ใช้รับส่งระหว่างฟังก์ชัน จะเรียกว่า พารามิเตอร์ (parameter) หรือบ้างก็เรียกว่า อากิวเมนต์
(argument) ในหนังสือเล่มนี้ผู้แต่งขอใช้คำว่า พารามิเตอร์ เพียงอย่างเดียวเมื่อกล่าวถึงค่าตัวแปรที่ใช้สำหรับการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน


ที่มา : http://computer.todaygoods.com/php/

ฟังก์ชัน PH

 PHP ฟังก์ชันวิธีการสร้าง ข้อกำหนด คุณสมบัติต่างๆ และการเรียกใช้
                 งานฟังก์ชัน การส่งค่าตัวแปรเพื่อประมวลผลในฟังก์ชัน การส่งค่ากลับเมื่อฟังก์ชันทำางานเสร็จ เป็นต้น
                 ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของฟังก์ชันนั้นจะช่วยลดขั้นตอนการเขียนโปรแกรมที่ต้องทำซ้ำๆ หรือใช้งานบ่อยครั้ง ทำให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถสร้างเป็นไลบรารีฟังก์ชันสำหรับการใช้งานในครั้งต่อๆ ไป           
                ฟังก์ชัน (Functions) คือ กลุ่มหรือชุดของคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่หนึ่งๆ เมื่อต้องการใช้งาน
ก็เพียงเรียกชื่อฟังก์ชันนั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที ฟังก์ชันใน PHP สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1) ฟังก์ชันมาตรฐาน (Built-in Functions) และ
2) ฟังก์ชันที่ผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเอง (User DefinedFunctions) 


ที่มา : http://computer.todaygoods.com/php/

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

php คืออะไร และ MySQL คืออะไร และทำงานร่วมกันอย่างไร

php คืออะไร และ MySQL คืออะไร และทำงานร่วมกันอย่างไร

          php ย่อมาจาก Personal Home Page Hypertext Preprocessor และ php มันก็คือภาษาสคริป ที่มีการทำงานในฝั่งของ server โดยสามารถทำงานข้าม Platfrom หรือระบบปฏิบัติการได้ เพื่อให้เราสามารถ สร้างเว็บที่มีความเคลื่อนไหวได้(Dynamic Webpage)โดยที่ ในการเขียนนั้น จะใช้คำสั่ง HTML อยู่เช่นเดิม แต่เพิ่มเข้ามาด้วย Tag คำสั่งภาษา PHP เพื่อควบคุม HTML อีกที แล้วลักษณะโครงสร้างทางภาษามันก็เหมือนภาษา C

          php เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้น มาให้สามารถ รับคำสั่งมาคิด คำนวนได้ โดยที่คำสั่ง จะถูกประมวลผลที่ฝั่งเครื่อง server นี่คือเหตุผลที่ทำให้เครื่อง server ที่รัน php จึงทำงานกว่าเครื่องที่รัน HTML เฉยๆ

MySQL คืออะไร

MySQL คืออะไร

MySQL (มายเอสคิวแอล) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้ภาษา SQL. แม้ว่า MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่แตกต่างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั่วไป โดยมีการพัฒนาภายใต้บริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน โดยจัดการ MySQL ทั้งในแบบที่ให้ใช้ฟรี และแบบที่ใช้ในเชิงธุรกิจ

MySQL สร้างขึ้นโดยชาวสวีเดน 2 คน และชาวฟินแลนด์ ชื่อ David Axmark, Allan Larsson และ Michael "Monty" Widenius.

ปัจจุบันบริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems, Inc.) เข้าซื้อกิจการของ MySQL AB เรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นผลิตภัณฑ์ภายใต้ MySQL AB ทั้งหมดจะตกเป็นของซัน

ชื่อ "MySQL" อ่านออกเสียงว่า "มายเอสคิวเอล" (maɪˌɛskjuːˈɛl) หรือ "มายเอสคิวแอล" (ในการอ่านอักษร L ในภาษาไทย) ซึ่งทางซอฟต์แวร์ไม่ได้อ่าน มายซีเควล หรือ มายซีควล เหมือนกับซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลตัวอื่น

รุ่นของผลิตภัณฑ์

รุ่นของผลิตภัณฑ์นั้นแบ่งออกมาได้สามสายการผลิต ได้แก่ เวอร์ชันใช้ฟรี เวอร์ชันการค้า และเวอร์ชันที่สนับสนุนกับผลิตภัณฑ์ SAP
(MAX DB)
ความแตกต่างคือเวอร์ชันคอมมิวนิตี้นั้นสามารถนำไปใช้งานได้ฟรีแต่ขาดการสนับ
สนุนหรือการช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น,
เวอร์ชันที่เป็นคอมเมอร์เชียลนั้นให้บริการด้านความสนับสนุนเมื่อมีปัญหา
(ซื้อบริการ) สรุปคร่าวๆ ประเภทดาต้าเบสให้เลือกใช้ดังนี้

MySQL เอนเทอร์ไพรส์ Enterprise

MySQL คลัสเตอร์ Cluster

MySQL Embedded

MySQL Community (opensource เวอร์ชัน)

ชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลข

ชนิดของข้อมูลที่สนับสนุน

ชนิดข้อมูลที่ MySQL สนับสนุนแบ่งเป็นสามประเภทหลักใหญ่ๆ


ชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลข

BIT (มีใช้ได้กับ MyISAM, InnoDB, Memory)

TINYINT : ขนาดที่เก็บ 1 ไบต์

SMALLINT : ขนาดที่เก็บ 2 ไบต์

MEDIUMINT : ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์

INT INT หรือ INTEGER : ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์

BIGINT หรือ INTEGER : ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์

ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับวันที่และเวลา

ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับวันที่และเวลา

DATETIME : ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์
เก็บค่าวันที่และเวลาในรูปแบบ YYYY-MM-DD HH:mm:SS
โดยมีค่าตั้งแต่ 1000-01-01 00:00:00 ถึง 9999-12-31 23:59:59

DATE : ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์
เก็บค่าวันที่ในรูปแบบ YYYY-MM-DD
โดยมีค่าตั้งแต่ 1000-01-01 ถึง 9999-12-31

TIMESTAMP : ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์
เก็บวันที่และเวลาในรูปแบบ String Timestamp
m = 14 หรือไม่กำหนด -> YYYYMMDDHHmmSS
m = 12 -> YYMMDDHHmmSS
m = 10 -> YYMMDDHHmm
m = 8 -> YYYYMMDD
m = 6 -> YYMMDD
m = 4 -> YYMM
m = 2 -> YY
โดยมีค่าตั้งแต่ 1970-01-01 00:00:00 ถึง 2037

TIME : ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์
เก็บค่าเวลาในรูปแบบ HH:mm:SS
โดยมีค่าตั้งแต่ 00:00:00 ถึง 23:59:59

YEAR [(2 หรือ 4)] : ขนาดที่เก็บ 1 ไบต์
เก็บค่าปี 2 หรือ 4 หลัก
หากระบุเป็น 2 จะเก็บค่า 70 ถึง 69 หมายถึงปี 1970 ถึง 2069
หากระบุเป็น 4 จะเก็บค่า 1901 ถึง 2155

ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวอักษร

ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวอักษร

CHAR : ขนาดที่เก็บ m ไบต์ แต่ไม่เกิน 255 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือ encoding ที่ใช้อยู่

VARCHAR : ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง มากที่สุด m ไบต์ แต่ไม่เกิน 255 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือ encoding ที่ใช้อยู่

VARBINARY : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร ทุกครั้งที่เลือกชนิดของฟิลด์เป็นประเภทนี้ จะต้องมี การกำหนดความยาวของข้อมูลลงไปด้วย ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้ตั้งแต่ 1 – 255 ฟิลด์ชนิดนี้ เหมาะ

สำหรับการเก็บข้อมูลสั้นๆ เช่น ชื่อ นามสกุล หรือหัวข้อต่างๆ เป็นต้น… ในส่วนฟิลด์ประเภทนี้ จะ สามารถเลือก “แอตทริบิวต์” เป็น BINARY ได้ โดยปกติแล้วการจัดเรียงข้อมูลเวลาสืบค้น (query) สำหรับ VARCHAR จะเป็นแบบ case-sensitive (ตัวอักษรใหญ่ และเล็กมีความหมายแตกต่างกัน) แต่ หากระบุ “แอตทริบิวต์” เป็น BINARY ปุ๊บ การสืบค้นจะไม่คำนึงตัวอักษรว่าจะเป็นตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก


BLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี เช่นเดียวกับ TINYBLOB แต่สามารถเก็บข้อมูลได้ 64KB

TEXT: สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่นเดียวกับ TINYTEXT แต่สามารถเก็บได้มากขึ้น โดย สูงสุดคือ 65,535 ตัวอักษร หรือ 64KB เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลพวกเนื้อหาต่างๆ ที่ยาวๆ

ENUM : เก็บค่า value เพียงค่าเดียวต่อหนึ่งแถว
ส่วน SET สามารถเก็บ value ได้หลายๆ ค่าต่อหนึ่งแถว


SET: (‘value1′,’value2′,…)
ขนาดที่เก็บ 1, 2, 3, 4 หรือ 8 ไบต์ ตามจำนวนค่า value ซึ่งกำหนดได้มากที่สุด 64 ค่า
เก็บค่าตาม value ที่กำหนด